3 ทางออกที่ต้องเลือกเมื่อ หุ้นติดดอย หากไม่มีประสบการณ์มาก่อนเลย ในการลงทุนหุ้น
หุ้นติดดอย ถ้าหากมีพอร์ตหุ้นอยู่ในมือ แต่ไม่มีประสบการณ์หุ้นติดดอยมาก่อนเลย แสดงว่ายังไม่เคยลงทุนในหุ้นอย่างจริงจัง เพราะทุกคนที่คิดจะสร้างรายได้จากช่องทางนี้ จะต้องเคยมีจังหวะที่ซื้อหุ้นผิดตัว หรือเข้าในช่วงเวลาที่ไม่ควรเข้า เลยทำให้ราคาหุ้นลากลงไปต่ำกว่าต้นทุนมากๆ แถมยังไม่มีวี่แววว่าราคาจะตีกลับมาที่จุดเดิมได้อีก หรือแม้แต่คนที่ทำการบ้านมาดีมีข้อมูลแน่น ก็อาจติดดอยจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่ไม่คาดฝันได้เหมือนกัน ทีนี้พอติดดอยแล้วจะทำยังไงได้บ้าง เรามี 3 แนวทางมาฝากกัน ดังนี้

แนะนำ 3 แนวทาง หุ้นติดดอย จากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่ไม่คาดฝัน
1. ตัดใจ Cut loss เพื่อลดความเสียหาย
ความจริงแล้วจุดที่จะตัด cut loss ควรต้องคิดวางแผนไว้ตั้งแต่ก่อนซื้อหุ้น ไม่ใช่มาเลือกเอาทีหลังเมื่อเจอปัญหาหุ้นติดดอย ควรมีเปอร์เซ็นต์ขาดทุนที่รับได้ในใจ เช่น ยอมขาดทุนได้มากสุด 30 เปอร์เซ็นต์ 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น แล้วเมื่อตัวเลขของหุ้นลงไปเรื่อยๆ จนถึงจุดสุดท้ายของเส้นขาดทุนของเราแล้ว ก็ตัดใจขายไปเลย อย่าเสียดาย เพราะถ้ารอช้ามันอาจจะลงไปจนเรารับไม่ได้เลย
2. ทยอยถัวเฉลี่ยไปเรื่อยๆ
อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับหุ้นติดดอยที่ไม่อยากขายทิ้ง ก็สามารถใช้วิธีลงเงินไปเพิ่มเพื่อถัวเฉลี่ย ทำให้ราคาต้นทุนของเราลดต่ำลง สิ่งที่ต้องระวังก็คือ แนวทางนี้จะต้องใช้เงินค่อนข้างมาก ถ้าเดิมทีซื้อหุ้นไว้ 100 หุ้น เวลาถมจะต้องถมขั้นต่ำ 100 หุ้น ราคาถึงจะเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะ และควรพิจารณาให้ดีก่อนว่าหุ้นนั้นมั่นคงพอที่จะถือระยะยาวหรือไม่

3. หาหุ้นตัวอื่นมาชดเชยเพื่อทยอยขาย
สุดท้ายถ้าใจไม่อยากถือต่อ แล้วก็ไม่กล้าตัดขายหุ้นติดดอยทิ้งทีเดียว ก็ให้เลือกทำกำไรกับหุ้นระยะสั้น ได้มาเท่าไรก็เอาไปตัดหุ้นเจ้าปัญหาเท่านั้น คิดภาพรวมแล้วเราก็เหมือนเท่าทุน แต่มีข้อดีตรงที่ได้ออกจากหุ้นตัวที่กังวลอยู่ แล้วก็ยังมีเงินสดในมือเพิ่มขึ้น สามารถเอาไปต่อยอดทางอื่นได้
1. ตัดใจ Cut loss เพื่อลดความเสียหาย
ความจริงแล้วจุดที่จะตัด cut loss ควรต้องคิดวางแผนไว้ตั้งแต่ก่อนซื้อหุ้น ไม่ใช่มาเลือกเอาทีหลังเมื่อเจอปัญหาหุ้นติดดอย ควรมีเปอร์เซ็นต์ขาดทุนที่รับได้ในใจ เช่น ยอมขาดทุนได้มากสุด 30 เปอร์เซ็นต์ 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น แล้วเมื่อตัวเลขของหุ้นลงไปเรื่อยๆ จนถึงจุดสุดท้ายของเส้นขาดทุนของเราแล้ว ก็ตัดใจขายไปเลย อย่าเสียดาย เพราะถ้ารอช้ามันอาจจะลงไปจนเรารับไม่ได้เลย

2. ทยอยถัวเฉลี่ยไปเรื่อยๆ
อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับหุ้นติดดอยที่ไม่อยากขายทิ้ง ก็สามารถใช้วิธีลงเงินไปเพิ่มเพื่อถัวเฉลี่ย ทำให้ราคาต้นทุนของเราลดต่ำลง สิ่งที่ต้องระวังก็คือ แนวทางนี้จะต้องใช้เงินค่อนข้างมาก ถ้าเดิมทีซื้อหุ้นไว้ 100 หุ้น เวลาถมจะต้องถมขั้นต่ำ 100 หุ้น ราคาถึงจะเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะ และควรพิจารณาให้ดีก่อนว่าหุ้นนั้นมั่นคงพอที่จะถือระยะยาวหรือไม่
3. หาหุ้นตัวอื่นมาชดเชยเพื่อทยอยขาย
สุดท้ายถ้าใจไม่อยากถือต่อ แล้วก็ไม่กล้าตัดขายหุ้นติดดอยทิ้งทีเดียว ก็ให้เลือกทำกำไรกับหุ้นระยะสั้น ได้มาเท่าไรก็เอาไปตัดหุ้นเจ้าปัญหาเท่านั้น คิดภาพรวมแล้วเราก็เหมือนเท่าทุน แต่มีข้อดีตรงที่ได้ออกจากหุ้นตัวที่กังวลอยู่ แล้วก็ยังมีเงินสดในมือเพิ่มขึ้น สามารถเอาไปต่อยอดทางอื่นได้
ฝากกดติดตามข่าวธุรกิจบัญชี
บทความที่น่าสนใจ“หุ้นทั่วโลกพุ่งขึ้น” เนื่องจากนักลงทุนตั้งความหวังในการรักษาโคโรนาCOVID-19