ในธุรกิจช่วง New Normal เราจะจัดการ ความขัดแย้งในองค์กร ได้อย่างไรบ้าง

ความขัดแย้งในองค์กร คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในโลกธุรกิจที่อยู่ในช่วง New Normal มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเยอะพอสมควร จากหลายธุรกิจที่เป็นไปตามกระแสการเปลี่ยนแปลงถึงขั้นซบเซาลง บางธุรกิจรุ่งเรืองแบบสวนกระแส แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์ของลูกค้าว่าสามารถจับจ่ายใช้สอยได้ตามปกติหรือไม่ ซึ่งมีผลมากกับการจัดการความขัดแย้ง  ความอยู่รอดของธุรกิจและความอยู่รอดของคนในสังคมที่ได้รับผลพวงเหล่านี้

ธุรกิจมักไม่มีสูตรสำเร็จที่ชัดเจน ตายตัว แต่เราต้องตื่นตัวรับสิ่งเหล่านั้นเพื่อรับมือ การที่จะเตรียมเปิดร้านหลังจากผ่อนคลายความตึงเครียดเนื่องจากอยู่บ้าน  บางร้านโชคดีที่ยังมีลูกค้าประจำ แต่บางร้านยังอยู่ในสภาพหงอยเหงา ส่วนหนึ่งเพราะเนื่องจาก New Normal เข้ามา ทำให้ปรับตัวไม่ทัน ไม่สามารถจัดการระบบงานเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงในระยะเวลาอันรวดเร็ว บางคนกลัวการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ยังไม่ชิน จึงเป็นบ่มการเกิดความขัดแย้งที่ควรจะเรียนรู้มัน ว่าเราจะจัดการความขัดแย้งทางธุรกิจได้ยังไง

ถ้ามองแบบไม่ใช่แง่ลบเพียงด้านเดียว  ความขัดแย้งสามารถให้ผลในทางบวกและทางลบ แต่การจะบริหารยังไงในสถานนี้ เป็นสิ่งที่น่าคิดอย่างมากว่าเราจะเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีได้ยังไง จะแนะนำการบริหารความขัดแย้งในช่วงวิกฤตนี้ว่าจะจัดการสถานการณ์ยังไงถึงจะรอดกันทุกฝ่าย

ความขัดแย้งในองค์กร

วิธีการบริหาร ความขัดแย้งในองค์กร ได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากอีกต่อไป

  1. มองการเปลี่ยนแปลงให้เป็นเรื่องที่ดี

         ในด้านการบริหารความขัดแย้งในองค์กร ความขัดแย้งในองค์กรไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว ตัวปัญหา ตัวถ่วงความก้าวหน้า หรือเป็นเรื่องแย่ ๆ เสมอไป (การเปลี่ยนแปลงก็เช่นกัน) ให้มองว่าความขัดแย้งกับการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่มาคู่กันเหมือน Duo เช่น ถ้าเรามองความขัดแย้งไปในทางลบ ไม่ว่าจะปัญหาที่พบเจอในธุรกิจ องค์กร หรือบริษัท หากคุณมองว่ามาทีทุกอย่างพัง เราก็จะเจอทางตัน ได้การเปลี่ยนแปลงเป็นด้านลบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ถ้ามองความขัดแย้งไปในทางบวก (เกิดการแข่งขัน และทำให้เกิดรู้เขารู้เรา) เราจะหาทางออก และเรากล้าเผชิญกับความวุ่นวายจาก New Normal มากกว่าที่เป็น ทั้งนี้เราจะขาดตัวกลางในการสื่อสารไม่ได้เลย

สาเหตุ ความขัดแย้งในองค์กร

2. เจรจาด้วยเหตุผล

         ไม่มีที่ไหนไม่เกิดปัญหา แต่ทั้งนี้การใช้เหตุผลเป็นสิ่งสำคัญเพื่อทำความเข้าใจ เตรียมพร้อมกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปแทบจะทุกอย่าง เช่น ในช่วงวิกฤตที่ใครหลายคนกลับบ้านต่างจังหวัดไม่ได้ บางบริษัท  บางธุรกิจให้เงินเดือนตามปกติ บางบริษัทลดเงินเดือนแต่ทำงานเท่าเดิม หรือบางบริษัทที่หยุดงาน ให้เงินเดือนเท่าเดิม แต่กลับบ้านไม่ได้ เพื่อป้องกันการเกิดอัตราเสี่ยงติดเชื้อเพิ่มขึ้น ทำให้พนักงานบางส่วนไม่เข้าใจเหตุผลว่าเพราะอะไร บ้านกลับไม่ได้ อยู่ในช่วง Lockdown แต่งานต้องทำทั้งที่สั่งให้หยุด ในช่วงนี้ผู้บังคับบัญชาต้องหันหน้าคุยกันกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ชัดเจนเพื่อลดความขัดแย้งกันเองก่อน จับเข่าคุยกันอย่างจริงจัง หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำหยาบคาย รุนแรง อ้าแขนรับปัญหาที่เข้ามาด้วยสติ และปัญญา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาบานปลาย และการตีความคลาดเคลื่อนไปในทางที่ผิด

3. ทบทวนข้อตกลงใหม่เมื่อเกิดหรือหลังเกิดวิกฤต

        การทบทวนข้อตกลงในบางองค์กรอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง ต้องทบทวนข้อผ่อนปรนเงื่อนไขอย่างชัดเจน เพราะต่างฝ่ายต่างตึงเครียด เนื่องจากบางข้อตกลงมีทั้งรับได้และรับไม่ได้พร้อม ๆ กัน เช่น บางบริษัท พนักงานบางตำแหน่งให้ทำงานแบบ Work From Home ได้ บางตำแหน่งลาหยุดอยู่บ้านไม่ได้ ต้องมาทำงานตามปกติ ควรชี้แจงเหตุผลเป็นรูปธรรมและปรับข้อตกลงบางข้อให้ยืดหยุ่นขึ้นตามสถานการณ์อันสมควร

ความขัดแย้งในองค์กร เจรจาด้วยเหตุผล

4. อย่าลืมที่จะ “ขอโทษ”

         คนจะรักองค์กรได้ องค์กรต้องรักเขาด้วยในโลกธุรกิจ  แน่นอนว่าในหลายเรื่องที่ไม่เป็นใจ อะไรที่มันควบคุมไม่ได้ เรื่องที่สุดวิสัย หรือเรื่องใดที่เกินกำลัง อย่าลืมที่จะขอโทษ และอภัยได้ก็อภัยให้เร็ว เพื่อที่องค์กรของตนจะได้เดินหน้าต่อไป แล้วเข้าใจว่าเรื่องบางเรื่องที่ถูกต้องอาจไม่ถูกใจใครเสมอไป แม้กระทั่งข้อตกลงร่วม บางเหตุผลไม่ใช่เรื่องที่ถูกใจทุกคน แต่มันก็ทำให้คลี่คลายไปในทางที่ดี รวมทั้งเราไม่ต้องบาดหมางในภายหลังด้วย

การบริหารความขัดแย้งทางธุรกิจในช่วง New Normal ก็ไม่ต่างอะไรจากคำว่า “หา Keyword” จากโจทย์ปัญหาของมัน ถ้าเราเจอ Keyword เราจะหาคำตอบของมันได้โดยเร็ว ซึ่งในทางธุรกิจจึงต้องอาศัยความเข้าใจ และความต้องการคืออะไร ซึ่งมีทฤษฎี Needs กับ Wants ว่าทีมงานต้องการอะไร และอยากปรับไปในทางไหนที่สุด รวมทั้งมีสวัสดิการอะไรให้เขาหรือไม่ ยกตัวอย่าง ประกันชีวิต ประกันสังคม หรือสถาบันการเงินที่บริษัทควรมีการศึกษาข้อกฎหมายชัดเจน จะช่วยจัดการความขัดแย้งภายในองค์กรได้ดีขึ้นอีกระดับ  ซึ่งช่วงที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด ขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กรจะจัดการเรื่องเหล่านี้ยังไง เพื่อลดความได้เปรียบเสียเปรียบตามหลัก  SWOT Analysis  มากที่สุด เพื่อให้งานเดินหน้าไปอย่างราบรื่นที่สุด  แล้วความขัดแย้งจะลดลงไปในทางที่ดีขึ้นในอนาคต

ฝากกดติดตามข่าวธุรกิจบัญชี
ข่าวสารธุรกิจที่น่าสนใจมีทุนน้อยเพียง 10,000 บาท อยากมี สร้างรายได้เสริม หาเงินเข้ากระเป๋าทำอาชีพอะไรดีนะ ?