ทำความรู้จักกับ หน่วยงานในตลาดหุ้น ความรู้พื้นฐานที่คนเล่นหุ้นต้องเข้าใจก่อนจะลงทุน
หน่วยงานในตลาดหุ้น ตลาดหุ้นเป็นแหล่งลงทุนที่ผู้ลงทุนใช้เป็นศูนย์กลางในการซื้อขายหุ้น แต่ในการซื้อขายแต่ละครั้งนั้นจำเป็นต้องมีหน่วยงานหลาย ๆ ส่วนเข้ามาเกี่ยงข้อง ซึ่งต่างก็ทำหน้าที่แตกต่างกันไป โดยการซื้อขายตั้งแต่ตลาดแรก คือ ตลาดที่มีการซื้อขายหุ้นครั้งแรกจากบริษัทที่ออกหุ้นเพื่อระดมทุนโดยตรง และตลาดรอง คือตลาดที่มีการซื้อขายหุ้นหลังจากที่มีการเสนอขายครั้งแรก ซึ่งเป็นการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) หรือตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (MAI) ซึ่งในกระบวนการซื้อขายนั้นจำเป็นต้องมีหน่วยงานหลายองค์กรเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนี้

หน่วยงานในตลาดหุ้น แหล่งลงทุนที่ผู้ลงทุนใช้เป็นศูนย์กลางในการซื้อขายหุ้น
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ก.ล.ต. (Securities and Exchange Commission)
ทำหน้าที่ดูแลหน่วยงานทั้งหมดที่เกี่ยวกับตลาดหุ้น และกระบวนการออกเสนอขายหลักทรัพย์ในด้านการเปิดเผยข้อมูลเผยข้อมูลเพื่อให้ผู้ลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน
ตลาดหลักทรัพย์ (Stock exchange)
เป็นตลาดรองสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) สำหรับหุ้นขนาดใหญ่ และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) สำหรับหุ้นขนาดเล็ก หรือผู้ลงทุนที่ต้องทำการซื้อขายผ่านโบรกเกอร์ที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์

โบรกเกอร์ (Broker)
เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทกิจการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ โดยทำหน้าที่ให้คำแนะนำต่าง ๆ กับนักลงทุน ให้บริการด้านข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เป็นตัวกลางรับซื้อขายหุ้น และดูแลพอร์ตการลงทุนให้กับสมาชิก โบรกเกอร์จึงถือว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการซื้อขายหุ้น
บริษัทมหาชนจำกัด (บมจ.) Public company limited
จะเป็นผู้ออกหลักทรัพย์เสนอขายหุ้นแก่ประชาชนเพื่อระดมทุนไปใช้ในกิจการ หรือที่เรียกกันว่า “การเสนอขายหุ้น IPO (Initial public offering)” โดยประชาชนที่ซื้อหุ้นจะมีฐานะเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจนั้น ๆ แต่เมื่อ บมจ.นั้นนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดรอง บริษัทจะมีสถานะเป็น “บริษัทจดทะเบียน” ทันที
ที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial advisor หรือ FA)
ทำหน้าที่ช่วยเตรียมความพร้อมและจัดเตรียมเอกสารในการยื่นขออนุญาตเพื่อเสนอขายหุ้น
ผู้สอบบัญชี (Auditor)
ทำหน้าที่แสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัทที่ออกเสนอขายหุ้น ว่ามีการจัดทำงบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่

ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สิน (Property valuer)
ทำหน้าที่ประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทที่ออกเสนอขายหลักทรัพย์
ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriter)
ทำหน้าที่รับหลักทรัพย์ที่ออกโดย บลจ. ไปจำหน่ายให้กับประชาชน โดยอาจมีตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์มาทำหน้าที่ช่วยเพิ่มช่องทางการเสนอขายหลักทรัพย์อีกทางหนึ่ง
ตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์ (Selling agent)
ทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่าย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ
สามารถกดติดตามเว็บไซต์ เศรษฐกิจการเงิน และการเรียรรู้เรื่องของหุ้นที่น่าสนใจ แนะนำ ข้อดี-ข้อเสียในการซื้อหุ้น การลงทุนที่คุณต้องศึกษาก่อนตัดสินใจซื้อให้ดีก่อน
ถ้าหากเครียดหรือกังวลจากการเงินและมีปัญหาติดขัด แอดยังมีการลุงทุนใหม่ ๆมาแนะนำให้รู้จัก Gclub5555 ได้ลองฃลงทุนแบบสบาย ๆ