อยากเกษียณอย่างมีความสุข! ต้องอ่าน 3 เทคนิคการแบ่งเงิน รับรองอยู่ได้แบบสบาย ๆ

           เทคนิคการแบ่งเงิน เมื่อทำงานไปได้สักระยะหนึ่ง หลายคนก็เริ่มนึกถึงบั้นปลายชีวิตหลังปลดเกษียณตัวเองว่าจะใช้ชีวิตอย่างไร…? หลายคนมีครอบครัวให้ลูกหลานดูแลอยู่กันอย่างอบอุ่น ทว่าก็มีอีกหลายคนเช่นที่ครองตัวเป็นโสดอยู่คนเดียวตลอด แน่นอน! แม้ชีวิตจะปลดเกษียณแต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ เลยให้ใช้เงิน ยิ่งอายุมากขึ้นจำเป็นต้องใช้เงินมากขึ้น เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง ค่าอาหารและอีกมากมาย ยิ่งในคนโสดจำเป็นมีเงินเก็บมาก ๆ ดังนั้นบทความนี้จึงได้นำเทคนิคการแบ่งเงินไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณมาบอกต่อทุกคนดังนี้

เทคนิคการแบ่งเงิน

3 เทคนิคการแบ่งเงิน ไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณเมื่ออายุมากขึ้นจากการทำงานมานาน

  • เงินสำหรับดำรงชีพ ในส่วนของเงินก้อนแรกในเทคนิคการแบ่งเงินจะเกี่ยวกับการดำรงชีวิตประจำวัน คือ ค่าอาหาร ค่ารถ ค่าเดินทาง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์มือถือต่าง ๆ สำหรับคนที่มีลูกอาจจะมีค่าขนมลูก หลาน เพิ่มมาด้วยนั้นเอง สำหรับเงินก้อนแรกให้ทุกคนลองคำนวณค่าใช้จ่ายในทุกวันหลังปลดเกษียณทุกคนจะใช้ชีวิตอย่างไร…? ใช้เงินประมาณเท่าไหร่…? เช่น หลังปลดเกษียณจะเดินทางเที่ยวทุกจังหวัดในประเทศไทยเดือนละ 2 จังหวัดในระยะเวลา 10 วัน  ให้งบจังหวัดละ 10,000 บาท ค่าอาหารในแต่ละวันปกติจะอยู่ที่ 500 บาท ไม่มีค่าบ้าน มีค่าน้ำค่าไฟเดือนละ 2,000 บาท เดือนละ 3,000 บาท และอื่นอีก ๆ เดือนละ 5,000 บาทดังนั้นค่าใช้จ่ายจะตกเดือนละ 40,000 บาท เป็นต้น
เทคนิคการแบ่งเงิน-ค่ารักษาพยาบาล
  • เงินสำหรับเจ็บป่วย ในส่วนของเงินก้อนที่สองให้ทุกคนสำรวจตัวเองเป็นหลักว่ามีโรคประจำตัวที่ต้องใช้จ่ายทุกเดือนหรือไม่…? หรือมีอาการป่วยลักษณะใดบ่อยให้คำนวณค่าใช้จ่ายไว้ แต่ข้อแนะนำให้ทุกคนทำประกันสุขภาพและเลือกการชำระเบี้ยเป็นงวด ๆ แทนทุกคนจะได้คำนวณเงินได้ง่ายและมั่นใจได้ 100% ว่าหากเจ็บป่วยจะมีเงินเพียงพอต่อการรักษา เช่น เบี้ยประกันเดือนละ 2,000 บาท เป็นต้น
  • เงินอื่น ๆ คือ เงินที่ไว้ใช้จ่ายที่ไม่คาดฝันจะเกิดหรือเงินเก็บนั้นเอง เช่น ออมเดือนละ 3,000 บาท เป็นต้น
เทคนิคการแบ่งเงิน-เงินออม

สุดท้ายเทคนิคการแบ่งเงินที่สำคัญนำเงินต้องมีความขยันและอดทนเพียงเท่านี้ชีวิตหลังเกษียณก็มีความสุขได้

ฝากกดติดตามเว็บไซต์ เศรษฐกิจการเงิน และการดูแลบริหารการเงินได้อย่างถูกวิธี ความแตกต่างของระหว่าง กองทุนรวม RMF กับกองทุน SSF เราควรจะเลือกกองทุนไหนดีกว่ากัน